สาเหตุของการบาดเจ็บจากกีฬายิมนาสติก
เสนอ อ.จัตวา อรจุล
จัดทำโดย นักเรียนห้อง ม.4/2
1. นางสาว กุณฑีรา กุศลทรามาส เลขที่ 1
2. นางสาว จิตติภัทร พิพัฒน์วสุธากุล เลขที่ 3
3. นางสาว ธณรรธร ตันศิริมาศ เลขที่ 4
4. นาย กำชัย เขมะจิตพิชิต เลขที่ 11
5. นาย จิรพัส ฉันชัยพัฒนา เลขที่ 13
6. นาย สิรภพ ลือพัฒนสุข เลขที่ 22
ชิ้นงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา 1 (พ 30101)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
ชิ้นงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา 1 (พ 30101)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆส่วนของร่างกาย การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นนั้น มีตำแหน่งที่เกิดแตกต่างกัน แล้วแต่การใช้ส่วนหรืออวัยวะของร่างกายหนักไปในทางใด การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ทำให้เกิดการจำกัดการเคลื่อนไหวและโอกาสของนักกีฬา การบาดเจ็บแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้นักกีฬาต้องงดการฝึกซ้อมหรือไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ยิ่งถ้าเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรงด้วยแล้วอาจจะหมายถึงจุดจบแห่งอนาคตของการเล่นกีฬานั้นๆทีเดียว
การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาบางชนิด นักกีฬาหรือผู้ฝึกสอนสามารถรักษาพยาบาลเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางการแพทย์มากนัก แต่การบาดเจ็บบางชนิดจำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้บำบัดรักษาเท่านั้น การปฐมพยาบาลและการรักษาเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีจะช่วยทำให้การรักษาง่ายขึ้น ช่วยลดอันตรายและภาวะแทรกซ้อนลงได้
เนื่องจากยิมนาสติก เป็นกีฬาที่ใช้ความสามารถสูงมาก ต้องใช้ทักษะสูงกว่ากีฬาอื่นๆ ทำให้บาดเจ็บง่ายกว่ากีฬาอื่นๆ ดังนั้น การบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ อุบัติเหตุจากการเล่น และการไม่ได้ Warm-up
การบาดเจ็บต่อร่างกายที่พบมากที่สุดคือให้ข้อเท้า และเท้าหลังส่วนล่าง, หัวเข่า, มือและข้อมือ ทั้งเกิดจากความเครียดมากเกินไป ร่างกายส่วนล่าง การบาดเจ็บมักจะเป็นเพราะความไม่สมดุลของการ landings, ในขณะที่ประสบการณ์ยังไม่เพียงพอ เมื่อยืดตัวมากเกินไป ต้องเตรียมพร้อมรับความบาดเจ็บ และต้องเข้าใจว่าการได้รับบาดเจ็บใด ๆ อาจเป็นอันตรายกับตนในอนาคต
- หากไม่ได้ฝึกซ้อมเป็นเวลานานแล้วกลับไปเล่นก็ควรระวังเป็นอย่างมาก เพราะอาจได้รับบาดเจ็บรุนแรงได้เนื่องจากความยืดหยุ่นของตัวน้อยลง
- ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าก่อนเล่นยิมนาสติก สวมเสื้อผ้าที่เหมาะสม หากผมยาวควรผูกหรือถักเปียไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมเกินไปเพราะจะทำให้เอื้อต่อการสะดุด และไม่ควรสวมใส่เครื่องประดับเนื่องจากเครื่องประดับต่างๆอาจขัดขวางการเล่นและทำให้บาดเจ็บได้เมื่อสัมผัสโดน
- ตรวจสอบสถานที่ที่จะเล่นกีฬาให้สะอาดโล่ง ปลอดภัยต่อสิ่งกีดขวางต่างๆ
ต่อไปก็ต้อง warm up ซึ่งรวมถึงการวิ่ง, เดินและ ยืดร่างกาย สิ่งที่จะได้รับคือการสูบฉีดเลือดการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย และลดความเลี่ยงต่อการเกิดอาการบาดเจ็บ แต่ถ้าการ warm up นั้นน่าเบื่อ เราอาจจะเปิดเพลงตอน warm up ไปด้วยก็ได้ ดังตัวอย่าง
การรักษาอาการบาดเจ็บ
เนื่องจากการบาดเจ็บต่อร่างกายที่พบมากที่สุดคือให้ข้อเท้า และเท้าหลังส่วนล่าง, หัวเข่า, มือและข้อมือ โดยมีสาเหตุ และการรักษาดังนี้
1. ข้อขัด (Locking) เป็นอาการติดขัดในการเคลื่อนไหวของข้อต่อในช่วงใดช่วงหนึ่ง มีสาเหตุมาจากมีบางสิ่งบางอย่างขัดอยู่ในข้อ เช่น เศษกระดูกหรือกระดูกอ่อน การรักษาโดยการผ่าตัดเอาเศษกระดูกออกมา
2. ข้อบวม (Swelling) เกิดจากหลายสาเหตุดังนี้
ก. การบวมนอกข้อต่อ เกิดจาการอักเสบของถุงหล่อลื่น (Bursa ) นอกข้อต่อ โดยทั่วไปมักไม่มีอันตรายมากนักนอกจากทำให้รำคาญ หรือในบางคนอาจมีอาการปวดร่วม
ด้วย การรักษา โดยวิธีทางกายภาพบำบัดหรือโดยการผ่าตัด
ข. การบวมภายในข้อต่อ เกิดจากการบวมภายในข้อต่อ
บวมออกมานอกข้อต่อ การรักษาโดย การผ่าตัด
3. ข้อติด (Stiffness) ภายหลังการบาดเจ็บของข้อต่อ มักจะทำให้ข้อนั้นติดเพราะกล้ามเนื้อรอบๆ เกิดการตึงตัว เนื่องจากไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานานๆ การรักษาโดยวิธีทางกายภาพบำบัด
4. ข้อแพลง (Sprain) เกิดจากการเคลื่อนไหวของข้อต่อเกินมุมปกติ ทำให้เกิดการฉีกขาดของเอ็นยึดข้อต่อ รวมถึงปลอกหุ้มข้อต่อฉีกขาดด้วย มักพบที่ข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้วมือ แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ
ระดับที่ 1 แพลงเล็กน้อย (Mild Sprain) เกิดจากเอ็นยึดข้อต่อฉีกขาดเล็กน้อย กดเจ็บแต่ไม่บวม ควรหยุดเล่น 1 สัปดาห์
ระดับที่ 2 แพลงปานกลาง (Moderate Sprain) เกิดจากเอ็นฉีกขาดพอสมควร มีอาการกดเจ็บ บวม อาจมีเลือดคั่งต้องพันยึดด้วยผ้ายืด ควรหยุดเล่น 3 สัปดาห์
ระดับที่ 3 แพลงรุนแรง (Severe Sprain) เกิดจากเอ็นฉีกขาดมาก อาจฉีกขาดถึงปลอกหุ้มข้อต่อ มีอาการกดเจ็บ บวมมาก มีเลือดออก เคลื่อนไหวอย่างปกติไม่ได้ การรักษา ต้องผ่าตัดต่อเอ็นและใส่เฝือก ต้องหยุดพักไม่ต่ำกว่า 6 สัปดาห์ และต้องทำกายภาพบำบัดต่อประมาณ 4 - 6 เดือน
การปฐมพยาบาลข้อแพลง ทำดังนี้
ก. ให้ข้อต่อที่บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ และหนุนให้สูง
ข. ใช้ความเย็น หรือน้ำแข็งประคบ ครั้งละ 20 – 30 นาที วันละ 2 – 3 ครั้ง
ค. ใช้ผ้ายืด (Elastic Bandage) พันรอบข้อเพื่อจำกัดการเคลื่อนไหว ถ้ามีการบาดเจ็บรุนแรง ให้นำส่งแพทย์เพื่อทำการรักษา
ง. ยกข้อที่บาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจ โดยเฉพาะเวลานอน
จ. หลัง 24 - 48 ชั่วโมงไปแล้วให้ใช้ความร้อนประคบ
5. ข้อหลุดหรือเคลื่อน (Dislocation) เป็นลักษณะที่ข้อต่อกระดูกหลุดออกจากที่ที่มันอยู่ตามปกติ ทำให้เยื่อหุ้มข้อต่อฉีกขาด กล้ามเนื้อ หลอดเลือด เส้นประสาทบริเวณนั้นฉีกขาด ถ้าเป็นเล็กน้อยเรียกว่า Subluxation ถ้าเป็นรุนแรงเรียกว่า Luxation ข้อหลุดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
ก. ข้อหลุดชนิดเฉียบพลัน (Acute Dislocation) เป็นการหลุดครั้งแรกโดยที่ไม่เคยหลุดมา ก่อน
ข. ข้อหลุดชนิดเรื้อรัง (Chronic Dislocation) เป็นการหลุดตั้งแต่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป เป็น เพราะเอ็นยึดข้อไม่แข็งแรง หรือยืด ต้องแก้ไขโดยการผ่าตัด
สาเหตุของข้อหลุด เกิดจากแรงกระแทก หรือแรงดึงจากภายนอก หรืออาจเกิดจากพยาธิสภาพของข้อเอง จะมีอาการปวดบวม กดเจ็บ เคลื่อนไหวไม่ได้ รูปร่างของข้อต่อผิดไปจากเดิม การปฐมพยาบาล ให้ข้อที่หลุดอยู่นิ่งๆ ประคบเย็น และนำส่งแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

กระดูกหัก (Fracture) หมายถึง ส่วนประกอบของกระดูกแตกแยกออกจากกันแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. กระดูกหักธรรมดา (Close or Simple Fracture) เป็นการหักของกระดูกไม่มีแผล และไม่มีกระดูกโผล่ออกมาภายนอก
2. กระดูกหักชนิดมีบาดแผล (Opened or Compound Fracture) เป็นการหักของกระดูกและทิ่มแทงออกมานอกเนื้อ
สาเหตุของกระดูกหัก แบ่งเป็น 2 แบบคือ
1) เกิดจากอุบัติภัย เช่น การเล่นกีฬา ตกจากที่สูง ถูกของหนักทับ
2) เกิดจากพยาธิสภาพของกระดูกเอง เช่น โรคกระดูกพรุน โพรงกระดูกอักเสบ มะเร็งในกระดูก เป็นต้น
1) ให้การปฐมพยาบาลอย่างรีบด่วน
2) หากมีอาการเป็นลม หรือช็อก ต้องแก้ไขให้ฟื้นก่อน
3) ถ้ามีการตกเลือด ต้องห้ามเลือดด้วยวิธีการที่เหมาะสม
4) การจับหรือตรวจบริเวณที่หักต้องทำด้วยความระมัดระวัง
5) ถ้าจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้าออก ควรใช้วิธีตัดทิ้ง
6) หากมีบาดแผลควรเช็ดล้างให้สะอาด แต่ห้ามล้างเข้าไปในแผล
7) หากจำเป็นต้องเข้าเฝือก ต้องทำด้วยความรวดเร็ว
8) การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ต้องกระทำให้ถูกหลักวิธีการ
9) รีบนำส่งแพทย์
10) การรักษากระดูกนั้น ต้องรักษาโดยแพทย์ผู้ชำนาญทางกระดูกเท่านั้น

8. กล้ามเนื้อบวม (Compartmental Syndrome) เกิดจากการฝึกซ้อมหนักเกินไป ทำให้มีการคั่งของน้ำนอกเซลล์กล้ามเนื้อ ทำให้น้ำ
ที่คั่งเกิดแรงดันเบียดมัดกล้ามเนื้อที่อยู่ข้างเคียง จะเกิดอาการบวมตึงที่กล้ามเนื้อ จะรู้สึกปวด ส่วนใหญ่จะพบที่กล้ามเนื้อน่อง การปฐมพยาบาลโดยการหยุดฝึกซ้อมทันที แล้วใช้ความเย็นประคบเพื่อลดอาการปวด พันด้วยผ้ายืด และเวลาพักผ่อนให้ยกกล้ามเนื้อที่บวมอยู่สูงกว่าระดับหัวใจ
9. กล้ามเนื้อฉีก (Strain) มักพบที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ด้านหลัง และน่อง แบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับคือ
การบาดเจ็บเล็กน้อย อาจบวมหรือไม่บวมก็ได้ ปกติ จะหายภายใน 3 วันโดยใช้ผ้ายืดพันยึด ส่วนนั้นเอาไว้
· ระดับที่สอง กล้ามเนื้อฉีกปานกลาง กล้ามเนื้อยังทำงานได้บ้าง จะมีอาการปวดบวม ต้องพันยึดด้วยผ้ายืดและใส่เฝือก โดยใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
· ระดับที่สาม กล้ามเนื้อฉีกขาดสมบูรณ์ กล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้ บวมและปวดรุนแรง คลำดูจะพบรอยบุ๋มใต้ผิวหนัง จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อเย็บต่อส่วนที่ขาด และใช้กายภาพบำบัดเข้าช่วย
สาเหตุของกล้ามเนื้อฉีก เกิดได้ 2 ทางคือ
1) เกิดจากตัวกล้ามเนื้อเอง เป็นการเพิ่มความตึงตัวต่อกล้ามเนื้อมากกว่าที่ตัวมันจะทนได้ ได้แก่ การอบอุ่นร่างกายไม่เพียงพอ ฝึกมากเกินไป กล้ามเนื้อยืดหยุ่นไม่ดี กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน
2) สาเหตุจากแรงกระทำภายนอก ทำให้เกิดอันตรายได้ตั้งแต่ผิวหนัง ไขมันและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังไปจนถึงกล้ามเนื้อ
การปฐมพยาบาลและบำบัดรักษากล้ามเนื้อฉีก แบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1. ระยะแรก ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง ให้ใช้หลัก “RICE” ดังนี้
R = Rest ให้พักโดยเฉพาะส่วนที่บาดเจ็บ
I = Ice ใช้น้ำแข็งประคบส่วนที่บาดเจ็บ ครั้งละ 20 – 30 นาที วันละ 2 – 3 ครั้ง
C = Compression พันกระชับส่วนนั้นด้วยม้วนผ้ายืด ควรใช้สำลีรองก่อน หลักการพันคือพันจากส่วนปลายมาหาส่วนต้น (เวลานอนไม่ต้องพัน)
E = Elevation ยกส่วนที่บาดเจ็บให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยให้เลือดไหลกลับหัวใจ เป็นการช่วยลดอาการปวดบวม
2. ระยะที่สอง นานเกิน 24 โ€“ 48 ชั่วโมง ผู้บาดเจ็บเริ่มทุเลาแล้ว จะใช้ความร้อนและวิธีทางกายภาพบำบัด โดยใช้หลัก “HEAT” ดังนี้
H = Hot ใช้ความร้อนประคบ โดยเฉพาะความร้อนลึก(เป็นเครื่องมือทางกายภาพบำบัด) หรือใช้กระเป๋าน้ำร้อนก็ได้
E = Exercise ลองขยับเขยื้อนส่วนที่บาดเจ็บดูเบาๆ เป็นการบริหารส่วนที่บาดเจ็บและทำการบีบนวดไปด้วย
A = Advanced Exercise ระยะหลังๆ บริหารให้มากขึ้น อาจมีผู้ช่วยในการบริหารส่วนที่บาดเจ็บ หรือใช้อุปกรณ์ช่วยในการออกกำลังกาย
T = Training for Rehabilitation เป็นการฝึกเพื่อช่วยฟื้นสภาพจากการบาดเจ็บให้กลับสู่สภาพปกติ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดโดยตรง
10. กล้ามเนื้อระบม (Muscular Soreness) เกิดจากกำหนดการฝึก แบ่งเป็น 2 แบบคือ
ก. การระบมแบบเฉียบพลัน (Acute Soreness) ที่เกิดขึ้นระหว่างออกกำลังกายในทันทีทันใดภายหลังการออกกำลังกาย สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อมีความตึงตัวสูง เลือดไหลไปเลี้ยงไม่พอ (Ischemia) ทำให้ไม่สามารถขจัดของเสียได้ทัน จะมีอาการเจ็บปวดในกล้ามเนื้อ
ข. การระบมที่เกิดขึ้นภายหลัง (Delayed Soreness) เป็นการระบมที่เกิดขึ้นหลังจากหยุดออกกำลังกายไปแล้ว 24 - 48 ชั่วโมง สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าน่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อ เอ็น เกิดความเสียหายระหว่างที่ออกกำลังกาย
การป้องกันกล้ามเนื้อระบม ทำได้โดยการอบอุ่นร่างกายให้เพียงพอ ปรับปรุงวิธีการออกกำลังกายโดยเริ่มต้นแต่น้อยแล้วค่อยเพิ่มขึ้นในภายหลัง
11. การบาดเจ็บที่เอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon) ประกอบด้วยเส้นใยคอลลาเจน ซึ่งเชื่อมระหว่างกล้าม เนื้อกับกระดูก เอ็นจะมีเยื่อบางๆห่อหุ้มเรียกว่าเยื่อหุ้มเอ็น และมีปลอกหุ้มเอ็น หุ้มรอบนอกอีก ชั้นหนึ่งการบาดเจ็บที่เอ็นกล้ามเนื้อ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
ก. เยื่อหรือปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (Tenosynovitis) เยื่อหุ้มเอ็นมีหน้าที่ให้อาหารและหล่อลื่นให้เอ็นกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น การอักเสบมักพบบ่อยที่บริเวณข้อมือ ข้อเท้า เนื่องจากใช้งานมากเกินไป (0verused) จะมีอาการปวดบวม อาการจะหายไปเมื่อให้พักส่วนนั้น ร่วมกับการใส่เฝือกอ่อน (Splint) อาจให้ยาแก้อักเสบร่วมด้วย
ข. เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (Tendinitis) สาเหตุเกิดจากการใช้งานหนักเกินไปและทำอยู่เป็นประจำ หรือเกิดจากการใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น การวิ่งบนพื้นที่แข็ง ตลอดจนการเพิ่มความเร็วการฝึกอย่างกะทันหัน มักจะมีอาการบวม พองของเอ็นและแข็ง กดเจ็บ ตัวเอ็นสูญเสียความยืดหยุ่น รักษาได้โดยใช้วิธีการทางกายภาพบำบัด
ค. เอ็นฉีกขาด (Rupture) มักพบในคนสูงอายุ เกิดจากการเปลี่ยนทิศทาง ความเร็วในการเคลื่อนที่ทันทีทันใด การฉีกขาดอาจเกิดบางส่วนหรือทั้งมัดก็ได้ ในกรณีขาดบางส่วนจะรักษาโดยการให้พักการออกกำลังกายหนักๆ จนกว่าอาการจะลดลงเมื่ออาการปวดทุเลาลงแล้ว จะรักษาโดยวิธีการยืดเอ็น กล้ามเนื้อโดยทำช้าๆ นิ่มนวล หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด และในกรณีขาดทั้งมัดให้ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป